NB-IoT คืออะไร? แล้วมันจะมาเปลี่ยนโลกการเกษตร และ โลกธุรกิจอย่างไร

Narrowband Internet of Things หรือที่เรียกย่อๆว่า NB‑IoT คือเทคโนโลยีเครือข่ายพลังงานต่ำ หรือ Low-Power Wide-Area Network (LPWAN) ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆได้ทุกที่ทุกเวลา ด้วยความสามารถนี้ NB-IoT จึงถูกนำมาติดตั้งภายในพื้นที่ควบคุมหรือพื้นที่ที่ยากจะเข้าถึงในระยะไกลจากสถานีปล่อยสัญญาณโทรศัพท์ถัดไป หรือภายในพื้นที่หนาแน่นซึ่งสัญญาณนั้นยากที่จะทะลุผ่าน เช่น ในตึกสูงหรือใต้ดิน

เมื่อมีสิ่งป้องกันสัญญาณตามสถานการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ความสามารถในการส่งสัญญาณก็จะต่ำลง และ จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณเพื่อทำงานร่วมกับระบบโครงข่ายที่ใช้พลังงานสูง และมีอัตราสิ้นเปลืองแบตเตอรี่สูง นอกเหนือจากนั้น เครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้นไม่สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมสำหรับแอพพลิเคชั่นต่างๆที่สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้อย่างบางเบาและน้อยครั้ง และนอกเหนือจากนี้แล้ว มาตรฐานของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ Cellular ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น 3G, 4G หรือ 5G ในอนาคตนั้น ไม่สามารถรองรับอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานได้ อย่างที่ NB‑IoT สามารถทำได้ จึงทำให้มาตรฐาน cellular ดังกล่าวไม่เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่มีราคาถูก เนื่องจากจำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานได้หลายปี

NB‑IoT สามารถที่จะใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเข้ากับอุปกรณ์จำนวนมากได้ และทำให้แอพพลิเคชั่นใหม่ๆสามารถใช้งานได้จริง ซึ่งจะเหมาะสมสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ต้องใช้งานผ่านการสื่อสารด้วยสัญญาณข้อมูลขนาดเล็กในระยะเวลาที่นาน เนื่องจาก NB-IoT นั้นใช้งานผ่านย่านความถี่ที่ได้รับการอนุญาตแล้ว เราจึงมั่นใจได้ว่าเราจะได้รับทั้งความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ พร้อมกับได้รับประกันคุณภาพการบริการ

การใช้งานคลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือสำหรับแอพพลิเคชั่น NB‑IoT ทั่วไปจะมีราคาแพงเกินไป อีกทั้ง แอพพลิเคชั่น NB‑IoT ยังไม่สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แอพพลิเคชั่น NB‑IoT จะเน้นไปที่การถ่ายโอนข้อมูลที่อัดแน่นด้วยความเร็วที่ช้า ซึ่งจะเหมาะสมกับระดับขีดความสามารถของอุปกรณ์ โดยอุปกรณ์ที่มีราคาถูกและมีอายุการใช้งานยาวนานนั้นจะสามารถตัดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานและลดความเสี่ยงต่อการถูกลักขโมยได้

สนใจสั่งซื้ออุปกรณ์ NB-IoT คลิ๊กที่นี่

คุณสมบัติหลักของ NB‑IoT:

  • มีอัตราสิ้นเปลืองพลังงานต่ำ (สามารถใช้ได้เกิน 10 ปีต่อการชาร์จแบตหนึ่งครั้ง)
  • ยืดช่วงระยะการส่งสัญญาณภายในตัวอาคารและใต้ดินได้อย่างยอดเยี่ยม
  • สามารถติดตั้งเข้ากับอาคารสถานีปล่อยสัญญาณโทรศัพท์มือถือได้โดยง่าย
  • มีเครือข่ายที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ
  • มีต้นทุนราคาชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ต่ำ

แอพพลิเคชั่นหลักของ NB-IoT

Smart Metering (ระบบตรวจวัดอัจฉริยะ)

NB‑IoT นั้นเหมาะสมกับการใช้งาน ตรวจวัดปริมาณแก๊สและระดับน้ำ ผ่านเครื่องส่งสัญญาณข้อมูลขนาดทั่วไปและขนาดเล็ก ความครอบคลุมของเครือข่ายถือเป็นหลักสำคัญในการทำงานของระบบตรวจวัดอัจฉริยะ โดยตัวอุปกรณ์ตรวจวัดนั้นสามารถตรวจวัดได้ในพื้นที่ที่ลำบาก เช่น สถานีปล่อยสัญญาณโทรศัพท์มือถือ บริเวณส่วนลึกของชั้นใต้ดิน หรือบริเวณพื้นที่ควบคุมในชนบท ซึ่ง NB‑IoT สามารถปล่อยสัญญาณได้ครอบคลุมและทะลุทะลวงไปตามพื้นที่ดังกล่าว         

Smart City (ระบบเมืองอัจฉริยะ)

NB‑IoT สามารถช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการควบคุม ระบบไฟบนท้องถนน แจ้งเตือนเมื่อต้องทำการทิ้งขยะลงถัง ค้นหาพื้นที่จอดรถฟรี ตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้อม และตรวจสอบสภาพถนน

Smart Building (ระบบอาคารอัจฉริยะ)

เซ็นเซอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ NB‑IoT นั้นสามารถส่งสัญญาณเตือนว่าตัวอาคารสมควรแก่การซ่อมบำรุงและใช้งานในระบบอัตโนมัติ เช่น ส่วนควบคุมระบบไฟและความร้อน นอกจากนั้น NB‑IoT ยังสามารถนำไปใช้งานเป็นระบบเชื่อมต่อ Broadband สำรองสำหรับตัวอาคารได้ โดยที่ระบบดูแลความปลอดภัย บางส่วนอาจยังต้องใช้เครือข่าย LPWAN เพื่อเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์โดยตรงไปยังระบบตรวจวัด เนื่องจากการปรับตั้งการยกเลิกใช้งานนั้นยากกว่าการติดตั้งและบำรุงรักษา

Smart Tracking (ระบบติดตามอัจฉริยะ)

NB‑IoT เป็นระบบที่ให้ความปลอดภัย ต้นทุนต่ำ และไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อจัดทำ ระบบติดตามรถยนต์ ผู้คน สัตว์และทรัพย์สิน เมื่อใดก็ตามที่ต้องการเปิดระบบติดตามอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นระบบที่สมบูรณ์แบบสำหรับใช้ติดตามวัตถุที่ไม่ได้เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา หรือเป็นระบบที่ติดตามได้ในระยะไกลและมีอัตราสิ้นเปลืองพลังงานต่ำ จึงถือว่าเป็นข้อดีเฉพาะของ NB‑IoT

Smart Agriculture and Environment (ระบบตรวจสอบสภาพเกษตรกกรมและสภาพแวดล้อม)

การเชื่อมต่อกับระบบ NB‑IoT สู่ยุค เกษตร 4.0 นั้นจะทำให้เกษตรกรและท้องถิ่นสามารถตรวจจับข้อมูลที่ได้มาจากเซ็นเซอร์ตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบไปด้วยโมดูล NB‑IoT ที่สามารถส่งสัญญาณแจ้งเตือนหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ซึ่งสามารถใช้เซ็นเซอร์ดังกล่าวเพื่อตรวจวัดอุณหภูมิและความชิ้นของดินและโดยปกติจะถูกนำไปใช้เพื่อติดตามลักษณะของ พื้นดิน มลพิษ เสียงดัง น้ำฝน และอื่นๆ