Internet of Things (IoT)

LoRaWAN คืออะไร? แล้วมันเกี่ยวข้องกับ IoT อย่างไร?

LoRa หรือ LoRaWAN คือเครือข่ายสื่อสารที่ส่งข้อมูลกำลังต่ำแบบไร้สาย และ เป็นระบบเครือข่ายที่สามารถส่งสัญญาณทางไกล หรือ “Long Range (LoRa)” โดยเป็นระบบที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับตลาด M2M และ IoT ซึ่ง LoRaWAN ถือเป็นระบบการเชื่อมต่อข้อมูลกำลังต่ำต้นแบบสำหรับการสื่อสารทางไกล ด้วยคลื่นสัญญาณวิทยุที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อรองรับกับสัญญาณในระดับที่ต่ำมาก และจะได้มาซึ่งการส่งผ่านสัญญาณกำลังต่ำในระยะทางที่ต้องการ ด้วยระบบการปรับสัญญาณและอินเตอร์เฟสในรูปแบบวิทยุของ LoRaWAN ที่ถูกออกแบบและปรับขึ้นเพื่อให้ได้มาซึ่งรูปแบบการสื่อสารตามที่ต้องการมากที่สุดในการนำไปใช้กับตลาด IoT และ M2M ณ ปัจจุบัน LoRaWAN ได้นำไปใช้งานร่วมกับแผงควบคุมไมโครคอนโทรลเลอร์อย่างบอร์ด Arduino เพื่อให้นักพัฒนาหลายๆรายสามารถนำไปใช้งานได้  LoRa Alliance ด้วยระบบต่างๆที่มีอย่างมากมายในท้องตลาด ในเชิงอุตสาหกรรมจึงได้ทำการพัฒนาและสนับสนุนให้ใช้ระบบไร้สายของ LoRa ซึ่งตัวบริษัทเองมีชื่อว่า LoRa Alliance ซึ่งเปิดตัวบริษัทในงาน Mobile World Congress เมื่อเดือนมีนาคมปี 2015 ด้วยวัตถุประสงค์ที่บริษัทจะดำเนินธุรกิจด้วยมาตรฐานระดับสากล และมีระบบที่สามารถเชื่อมต่อกับตลาด IoT ในชื่อ LPWAN ด้วยการที่ LoRa ถูกพัฒนาขึ้นตามพื้นฐานของระบบ Semtech จึงทำให้มาตรฐานของระบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลากหลายบริษัท …

LoRaWAN คืออะไร? แล้วมันเกี่ยวข้องกับ IoT อย่างไร? Read More »

IoT คืออะไร? การอธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับ “อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง”

คุณกำลังอ่านโพสต์นี้อย่างไร? คุณอาจจะอ่านมันผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือผ่านหน้าจอแท็บเล็ต แต่ไม่ว่าคุณจะใช้อุปกรณ์ชนิดใด อุปกรณ์นั้นๆส่วนใหญ่จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตนั้นถือว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์ ด้วยประโยชน์มากมายที่เราได้รับซึ่งเราต่างไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้มาก่อน ถ้าคุณอยู่ในช่วงวัยที่โตพอระดับหนึ่ง ลองย้อนกลับไปนึกถึง โทรศัพท์มือถือ ที่คุณเคยใช้ก่อนที่จะกลายเป็นมือถือแบบสมาร์ทโฟน แน่นอนว่าคุณสามารถโทรและส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือได้ในยุคก่อนหน้านี้ แต่มาตอนนี้คุณสามารถอ่านหนังสือ ดูภาพยนตร์ หรือแม้กระทั่งฟังเพลงผ่านอุปกรณ์ที่คุณกำลังถืออยู่ และนั่นเป็นเพียงแค่บางส่วนที่โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนสามารถทำได้ “อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” หรือ “Internet of Things (IoT)” ถือเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างเรียบง่าย ซึ่งหมายถึงการรวบรวมทุกสรรพสิ่งในโลกมาเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต ผมคิดว่าความสับสนที่มีเกี่ยวกับ IoT นั้น มิได้เกิดจากแนวคิดที่ค่อนข้างแคบและไม่อาจถูกตีความออกไปได้เป็นวงกว้าง แต่เกิดจากแนวคิดที่กว้างเกินไปต่างหาก ที่ถูกนำไปตีความจนเกินขอบเขตแนวคิด ฉะนั้นอาจจะเป็นการยากที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ IoT เพราะมีตัวอย่างและโอกาสมากมายที่สามารถดำเนินการผ่าน IoT ได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น มันจึงสำคัญมากที่จะต้องทำความเข้าใจถึงคุณประโยชน์ในการเชื่อมต่อสรรพสิ่งเข้ากับอินเตอร์เน็ตและเหตุผลที่เราต้องเชื่อมต่อทุกสิ่งเข้ากับอินเตอร์เน็ต ความสำคัญของ IoT ในอนาคต เมื่ออุปกรณ์ใดๆถูกเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตแล้ว อุปกรณ์นั้นๆจะสามารถส่งหรือรับข้อมูลหรืออาจทำได้ทั้งสองอย่าง ด้วยความสามรถทั้งส่ง และ/หรือ รับข้อมูลต่างๆนั้นทำให้อุปกรณ์มีความอัจฉริยะ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ลองมาเทียบกับสมาร์ทโฟนที่เราถืออยู่ตอนนี้อีกครั้ง ตอนนี้คุณสามารถฟังเพลงได้ทุกเพลงบนโลกใบนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าโทรศัพท์ของคุณจะบรรจุเพลงทุกเพลงบนโลกนี้เอาไว้ แน่นอนว่าเพลงพวกนั้นถูกจัดเก็บไว้ตามที่ต่างๆ แต่โทรศัพท์ของคุณมีหน้าที่เพียงส่งข้อมูล (เพื่อขอเพลง) และทำการรับข้อมูล (เล่นเพลงผ่านโทรศัพท์มือถือ) …

IoT คืออะไร? การอธิบายคร่าวๆเกี่ยวกับ “อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” Read More »

IoT คืออะไร? เราจะมาอธิบายอย่างง่ายๆให้คุณเข้าใจ

อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง หรือ Internet of things (IoT) กำลังเป็นหัวข้อการสนทนาที่ถูกกล่าวถึงมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในสถานที่ทำงานและสถานที่อื่นๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ไม่เพียงแต่จะมีศักยภาพในการสร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตของเรา แต่ยังรวมถึงวิธีการทำงานของเราด้วย แต่ทว่า IoT คืออะไรกันแน่ และมีผลกระทบอะไรต่อตัวคุณบ้าง IoT นั้นมีความซับซ้อนมากมาย แต่ผู้เขียนขอกล่าวถึงเฉพาะเรื่องพื้นฐานเท่านั้น โดยมีบทสนทนาทั้งในทางเทคนิคและนโยบาย แต่ทว่ายังมีคนมากมายที่กำลังพยายามเพียงเพื่อที่จะเข้าใจถึงเรื่องพื้นฐานต่างๆ ดังนั้นเรามาเริ่มจากการทำความใจบางสิ่งกันก่อน บรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตกำลังเป็นที่แพร่หลายยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ค่าเชื่อมต่อกำลังลดลง อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งาน Wi-Fi และเซ็นเซอร์ต่างๆ กำลังเพิ่มมากขึ้น ต้นทุนด้านเทคโนโลยีกำลังลดลง และตลาดสมาร์ทโฟนกำลังพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สิ่งทั้งหมดเหล่านั้นกำลังสร้าง “พายุอันสมบูรณ์แบบ” ให้กับ IoT แล้ว IoT คืออะไร? พูดง่ายๆ ก็คือแนวคิดในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ใดๆ โดยง่ายด้วยสวิตช์ On และ Off กับอินเตอร์เน็ต (และ/หรือเชื่อมต่ออุปกรณ์เข้าด้วยกัน) ซึ่งรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างจากโทรศัพท์มือถือ เครื่องชงกาแฟ เครื่องซักผ้า หูฟัง หลอดไฟ อุปกรณ์สวมใส่ และทุกสิ่งทุกอย่างเท่าที่คุณจะนึกออก ซึ่งรวมถึงส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่องจักร เช่น เครื่องยนต์เจ็ตของเครื่องบิน และสว่านของเครื่องขุดเจาะน้ำมัน …

IoT คืออะไร? เราจะมาอธิบายอย่างง่ายๆให้คุณเข้าใจ Read More »

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี IoT ในยุคเกษตร 4.0

Internet of Things (IoT) หรือ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโลกที่เราอาศัยอยู่ในหลายๆ ด้าน ทั้งอุตสาหกรรมชั้นสูง ยานพาหนะและเทคโนโลยีการสื่อสาร และเมืองอัจฉริยะล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของ IoT ทั้งสิ้น รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่าง IoT ในอุตสาหกรรมการเกษตร มีการคาดการณ์ว่าประชากรทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 9.6 พันล้านคนภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) ดังนั้น เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของประชากรจำนวนมหาศาลนี้ อุตสาหกรรมการเกษตรจะต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคเกษตร 4.0 ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของความท้าทายต่างๆ เช่น ความผันผวนของสภาพอากาศและภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากวิถีปฏิบัติในภาคการเกษตรที่เข้มข้นขึ้นเพื่อให้สามารถรับมือกับความต้องการด้านอาหารของประชากรโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้นั่นเอง  ดังนั้น การทำฟาร์มอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) หรือที่ในประเทศไทยเรียกกันคุ้นชินว่า เกษตร 4.0 โดยใช้เทคโนโลยี IoT จะช่วยให้ชาวไร่ ชาวสวน และเกษตรกรไทยสามารถลดของเสียและเพิ่มผลผลิตตั้งแต่ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ไปจนถึงการขนส่งผลผลิตออกจากฟาร์ม แล้ว เกษตร 4.0 คืออะไร? เกษตร 4.0 คือ ระบบเกษตรชั้นสูงเพื่อการผลิตอาหารที่มีความสะอาดและยั่งยืนสำหรับประชากรโลกผ่านการใช้เครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูงอย่างเข้มข้น ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่าง ICT หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอันทันสมัยและภาคการเกษตร …

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี IoT ในยุคเกษตร 4.0 Read More »

NB-IoT คืออะไร? แล้วมันจะมาเปลี่ยนโลกการเกษตร และ โลกธุรกิจอย่างไร

Narrowband Internet of Things หรือที่เรียกย่อๆว่า NB‑IoT คือเทคโนโลยีเครือข่ายพลังงานต่ำ หรือ Low-Power Wide-Area Network (LPWAN) ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆได้ทุกที่ทุกเวลา ด้วยความสามารถนี้ NB-IoT จึงถูกนำมาติดตั้งภายในพื้นที่ควบคุมหรือพื้นที่ที่ยากจะเข้าถึงในระยะไกลจากสถานีปล่อยสัญญาณโทรศัพท์ถัดไป หรือภายในพื้นที่หนาแน่นซึ่งสัญญาณนั้นยากที่จะทะลุผ่าน เช่น ในตึกสูงหรือใต้ดิน เมื่อมีสิ่งป้องกันสัญญาณตามสถานการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ความสามารถในการส่งสัญญาณก็จะต่ำลง และ จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณเพื่อทำงานร่วมกับระบบโครงข่ายที่ใช้พลังงานสูง และมีอัตราสิ้นเปลืองแบตเตอรี่สูง นอกเหนือจากนั้น เครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้นไม่สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมสำหรับแอพพลิเคชั่นต่างๆที่สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้อย่างบางเบาและน้อยครั้ง และนอกเหนือจากนี้แล้ว มาตรฐานของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ Cellular ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น 3G, 4G หรือ 5G ในอนาคตนั้น ไม่สามารถรองรับอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานได้ อย่างที่ NB‑IoT สามารถทำได้ จึงทำให้มาตรฐาน cellular ดังกล่าวไม่เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่มีราคาถูก เนื่องจากจำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานได้หลายปี NB‑IoT สามารถที่จะใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเข้ากับอุปกรณ์จำนวนมากได้ และทำให้แอพพลิเคชั่นใหม่ๆสามารถใช้งานได้จริง ซึ่งจะเหมาะสมสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ต้องใช้งานผ่านการสื่อสารด้วยสัญญาณข้อมูลขนาดเล็กในระยะเวลาที่นาน เนื่องจาก NB-IoT นั้นใช้งานผ่านย่านความถี่ที่ได้รับการอนุญาตแล้ว เราจึงมั่นใจได้ว่าเราจะได้รับทั้งความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ พร้อมกับได้รับประกันคุณภาพการบริการ การใช้งานคลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือสำหรับแอพพลิเคชั่น NB‑IoT ทั่วไปจะมีราคาแพงเกินไป …

NB-IoT คืออะไร? แล้วมันจะมาเปลี่ยนโลกการเกษตร และ โลกธุรกิจอย่างไร Read More »