เกษตร 4.0

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี IoT ในยุคเกษตร 4.0

Internet of Things (IoT) หรือ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโลกที่เราอาศัยอยู่ในหลายๆ ด้าน ทั้งอุตสาหกรรมชั้นสูง ยานพาหนะและเทคโนโลยีการสื่อสาร และเมืองอัจฉริยะล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของ IoT ทั้งสิ้น รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอย่าง IoT ในอุตสาหกรรมการเกษตร มีการคาดการณ์ว่าประชากรทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 9.6 พันล้านคนภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) ดังนั้น เพื่อที่จะตอบสนองความต้องการของประชากรจำนวนมหาศาลนี้ อุตสาหกรรมการเกษตรจะต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคเกษตร 4.0 ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของความท้าทายต่างๆ เช่น ความผันผวนของสภาพอากาศและภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากวิถีปฏิบัติในภาคการเกษตรที่เข้มข้นขึ้นเพื่อให้สามารถรับมือกับความต้องการด้านอาหารของประชากรโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้นั่นเอง  ดังนั้น การทำฟาร์มอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) หรือที่ในประเทศไทยเรียกกันคุ้นชินว่า เกษตร 4.0 โดยใช้เทคโนโลยี IoT จะช่วยให้ชาวไร่ ชาวสวน และเกษตรกรไทยสามารถลดของเสียและเพิ่มผลผลิตตั้งแต่ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ไปจนถึงการขนส่งผลผลิตออกจากฟาร์ม แล้ว เกษตร 4.0 คืออะไร? เกษตร 4.0 คือ ระบบเกษตรชั้นสูงเพื่อการผลิตอาหารที่มีความสะอาดและยั่งยืนสำหรับประชากรโลกผ่านการใช้เครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูงอย่างเข้มข้น ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่าง ICT หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอันทันสมัยและภาคการเกษตร …

ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี IoT ในยุคเกษตร 4.0 Read More »

NB-IoT คืออะไร? แล้วมันจะมาเปลี่ยนโลกการเกษตร และ โลกธุรกิจอย่างไร

Narrowband Internet of Things หรือที่เรียกย่อๆว่า NB‑IoT คือเทคโนโลยีเครือข่ายพลังงานต่ำ หรือ Low-Power Wide-Area Network (LPWAN) ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆได้ทุกที่ทุกเวลา ด้วยความสามารถนี้ NB-IoT จึงถูกนำมาติดตั้งภายในพื้นที่ควบคุมหรือพื้นที่ที่ยากจะเข้าถึงในระยะไกลจากสถานีปล่อยสัญญาณโทรศัพท์ถัดไป หรือภายในพื้นที่หนาแน่นซึ่งสัญญาณนั้นยากที่จะทะลุผ่าน เช่น ในตึกสูงหรือใต้ดิน เมื่อมีสิ่งป้องกันสัญญาณตามสถานการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ความสามารถในการส่งสัญญาณก็จะต่ำลง และ จำเป็นต้องพึ่งพาอุปกรณ์เครื่องส่งสัญญาณเพื่อทำงานร่วมกับระบบโครงข่ายที่ใช้พลังงานสูง และมีอัตราสิ้นเปลืองแบตเตอรี่สูง นอกเหนือจากนั้น เครือข่ายโทรศัพท์มือถือนั้นไม่สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมสำหรับแอพพลิเคชั่นต่างๆที่สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้อย่างบางเบาและน้อยครั้ง และนอกเหนือจากนี้แล้ว มาตรฐานของเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ Cellular ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น 3G, 4G หรือ 5G ในอนาคตนั้น ไม่สามารถรองรับอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานได้ อย่างที่ NB‑IoT สามารถทำได้ จึงทำให้มาตรฐาน cellular ดังกล่าวไม่เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่มีราคาถูก เนื่องจากจำเป็นต้องมีแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานได้หลายปี NB‑IoT สามารถที่จะใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเข้ากับอุปกรณ์จำนวนมากได้ และทำให้แอพพลิเคชั่นใหม่ๆสามารถใช้งานได้จริง ซึ่งจะเหมาะสมสำหรับการใช้งานแอพพลิเคชั่นที่ต้องใช้งานผ่านการสื่อสารด้วยสัญญาณข้อมูลขนาดเล็กในระยะเวลาที่นาน เนื่องจาก NB-IoT นั้นใช้งานผ่านย่านความถี่ที่ได้รับการอนุญาตแล้ว เราจึงมั่นใจได้ว่าเราจะได้รับทั้งความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือ พร้อมกับได้รับประกันคุณภาพการบริการ การใช้งานคลื่นสัญญาณโทรศัพท์มือถือสำหรับแอพพลิเคชั่น NB‑IoT ทั่วไปจะมีราคาแพงเกินไป …

NB-IoT คืออะไร? แล้วมันจะมาเปลี่ยนโลกการเกษตร และ โลกธุรกิจอย่างไร Read More »