หากท่านเป็นผู้ที่ติดตามข่าวสารด้านการธนาคาร การลงทุน หรือเงินสกุลดิจิตอลเป็นเวลานาน ท่านอาจจะคุ้นเคยกับคำว่า “blockchain” หรือเทคโนโลยีที่มีไว้จัดเก็บข้อมูลเงินสกุลบิทคอยน์เป็นอย่างดี และนับเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำความเข้าใจมากขึ้น เมื่อใดก็ตามที่ท่านต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับ blockchain ท่านอาจจะพบเจอกับคำนิยามที่ว่า “blockchain จะถูกจำหน่าย กระจาย และเป็นสาธารณะ”
ข่าวดีก็คือ blockchain นั้นง่ายต่อการทำความเข้าใจ แม้คำนิยามของมันจะฟังดูน่าสับสนก็ตาม
Blockchain คืออะไร?
หากเทคโนโลยีประเภทนี้มีความซับซ้อน แล้วเหตุใดในแวดวงธุรกิจจึงพิจารณาให้ blockchain สามารถเข้าถึงได้ในระดับพื้นฐาน เพราะว่า blockchain นั้นเปรียบได้เสมือนกับโซ่ที่เชื่อมตรึงก้อนอิฐหรือบล็อกต่างๆเข้ากันไว้ แต่นั่นเป็นเพียงแค่ความหมายที่แปลออกมาโดยตรงซึ่งในที่นี้ไม่ได้หมายความเช่นนั้น เมื่อเรากล่าวถึงคำว่า “บล็อก” และ “โซ่” ในบริบทนี้ แน่นอนว่ามันจะมีความหมายเกี่ยวกับข้อมูลดิจิตอล ดังนั้น (บล็อก (block)) จะถูกจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ (โซ่ (chain))
โดยที่ “Blocks” ของเทคโนโลยี blockchain นั้นถูกรวบรวมขึ้นมาจากข้อมูลดิจิตอล ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็นสามส่วน:
- Blocks มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นทั้ง วัน เวลา และจำนวนเงินที่ท่านได้ซื้อของมาจากเว็บไซต์ Amazon (ข้อสังเกต: ตัวอย่างการซื้อสินค้าจาก Amazon นี้แสดงให้เห็นถึงการซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ Amazon ใช้งานกับระบบ blockchain ไม่ได้)
- Blocks มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลส่วนตัวของบุคคลที่ดำเนินธุรกิจ โดยตัว block จะแสดงจำนวนการซื้อสินค้าจาก Amazon ของท่าน โดยจะบันทึกชื่อของท่านพร้อมกับที่อยู่เว็บไซต์ Amazon.com, Inc. แทนที่การบันทึกชื่อเป็นชื่อจริง ประวัติการซื้อสินค้าของท่านจะถูกบันทึกโดยปราศจากข้อมูลระบุตัวตน เช่น บันทึก “ลายเซ็นดิจิตอล” อย่างชื่อบัญชีเข้าใช้งานเว็บไซต์
- Blocks มีหน้าที่จัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างออกไปจากใน block อื่นๆ กล่าวง่ายๆคือหากในกรณีที่ท่านและเราต้องการใช้ชื่อเพื่อแยกตัวตนออกจากกัน ในแต่ละ block จะทำการจัดเก็บรหัสเฉพาะตัวที่เรียกว่า “ข้อมูลย่อย หรือ แฮช (hash)” ที่จะเป็นตัวแยกรหัสของเราออกจาก block ของผู้อื่น อาจกล่าวได้ว่า ขณะที่ท่านทำการชำระซื้อสินค้าจาก Amazon ข้อมูลนั้นจะถูกส่งผ่าน และท่านตัดตัดสินใจที่จะไม่หยุดยั้งข้อมูลนั้น อีกทั้งต้องการดำเนินการให้เกิดข้อมูลขั้นต่อไป แม้ว่ารายละเอียดข้อมูลการดำเนินธุรกิจของท่านนั้นจะมีลักษณะใกล้เคียงกับข้อมูลการซื้อขายที่ท่านเพิ่งได้ดำเนินการไป ถึงกระนั้นทางเราก็สามารถยืนยันได้ว่า แต่ละ block จะเก็บข้อมูลแยกจากกันด้วยการระบุรหัสเฉพาะนี้
ขณะที่ตัวอย่าง block ด้านบนที่กล่าวมานั้นถูกใช้งานเพื่อจัดเก็บข้อมูลการซื้อสินค้าจาก Amazon อย่างเดียวซึ่งในความเป็นจริงจะแตกต่างออกไปเล็กน้อย แต่ละ block ในระบบ blockchain นั้นสามารถบรรจุข้อมูลได้สูงสุดถึง 1 MB แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลในการดำเนินธุรกิจแต่ละครั้ง ซึ่งหมายความว่าในแต่ละ block จะสามารถบรรจุข้อมูลการดำเนินธุรกิจได้นับพันๆครั้ง
Blockchain ทำงานอย่างไร
เมื่อ block ทำการเก็บข้อมูลใหม่ไปยังระบบ blockchain จะถือว่า blockchain เป็นระบบที่ได้รับการแนะนำและประกอบไปด้วย block ต่างๆที่เชื่อมโยงกันอยู่ หากต้องการเพิ่มเติม block ลงไปในระบบ blockchain ท่านควรดำเนินการตามขั้นตอนทั้งสี่ขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ต้องมีการดำเนินธุรกิจ ดำเนินการต่อด้วยการจับจ่ายซื้อสินค้าทาง Amazon ด้วยบัญชีของท่าน หลังจากทำการคลิกเพื่อตัดสินใจสั่งซื้อสินค้า ตอนนี้ท่านจะตัดสินใจได้ดีขึ้นและทำการซื้อสินค้าขั้นต่อไป
- การดำเนินธุรกิจทุกครั้งต้องผ่านการตรวจสอบ หลังจากทำการซื้อสินค้า ขั้นตอนดังกล่าวต้องได้รับการตรวจสอบ พร้อมทั้งข้อมูลสาธารณะอื่นๆที่ถูกบันทึกไว้ เช่น เงินประกันค่านายหน้าแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ข้อมูลจาก Wikipedia หรือข้อมูลจากหอสมุดใกล้บ้าน ซึ่งจะต้องมีบุคคลผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลใหม่ๆที่ได้รับมา และในระบบ blockchain หน้าที่ดังกล่าวจะตกเป็นของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยปกติแล้วเครือข่ายดังกล่าวประกอบไปด้วยคอมพิวเตอร์นับพันเครื่อง (หรือถ้าเปลี่ยนเป็นเงินสกุลบิทคอยน์ จะมีอยู่จำนวนประมาณ 5 ล้านหน่วย) กระจายไปทั่วทั้งโลก เมื่อท่านทำการสั่งซื้อสินค้าจาก Amazon เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะทำการตรวจสอบโดยทันทีว่าการดำเนินการของท่านนั้นเป็นไปตามที่ท่านระบุหรือไม่ ด้วยเหตุนั้นจึงจะสามารถยืนยันได้ถึงรายละเอียดการซื้อขาย ประกอบไปด้วย ช่วงเวลาดำเนินธุรกิจ จำนวนเงิน และจำนวนผู้เข้าร่วม (จะเพิ่มมากขึ้นหากดำเนินการในครั้งถัดไป)
- ข้อมูลการดำเนินธุรกิจต้องจัดเก็บไว้ใน block หลังจากที่ทำการตรวจสอบแล้วว่าการดำเนินธุรกิจของท่านเป็นไปอย่างเรียบร้อย จะถูกยืนยัน ข้อมูลต่างๆทั้ง จำนวนเงินที่จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ลายเซ็นดิจิตอล และลายเซ็นดิจิตอลในบัญชี Amazon จะถูกจัดเก็บไว้ใน block ทั้งสิ้น ซึ่งข้อมในการดำเนินธุรกิจนั้นอาจมีร่วมกันนับร้อยหรือนับพันหรืออาจะมากกว่านั้นก็เป็นไปได้
- Block จะต้องถูกเข้ารหัสข้อมูลย่อย หรือ แฮช (hash) เอาไว้ หากจะอุปมาอุปไมยแล้ว ขั้นตอนดังกล่าวจะไม่เหมือนกับเทวดาต้องการปีก เพราะเมื่อใดก็ตามที่ข้อมูลดำเนินธุรกิจใน block ทั้งหมดผ่านการตรวจสอบแล้ว ข้อมูลนั้นๆต้องถูกเจ้ารหัสเฉพาะ หรือรหัสระบุตัวตนที่เรียกว่า ข้อมูลย่อย หรือ แฮช (hash) โดยที่ block เกือบทั้งหมดที่ถูกเข้ารหัส แฮช (hash) ไว้แล้วจะนำเข้าไปไว้ในระบบ blockchain และเมื่อเข้ารหัส แฮช (hash) แล้ว ตัว block ก็จะถูกนำเข้าไปใช้เป็น Block ในระบบของ blockchain
และเมื่อ block ใหม่ถูกบรรจุเข้าไปยังระบบ blockchain มันจะถูกเปลี่ยนสถานะให้เป็นสาธารณะเพื่อที่ทุกคนก็จะสามารถเข้ารับชมข้อมูลที่บรรจุไว้ได้ แม้กระทั่งตัวท่านเองก็ตาม หากท่านสำรวจข้อมูล blockchain ของเงินสกุลบิทคอยน์ จะเห็นได้ว่าท่านได้เข้าถึงข้อมูลการดำเนินธุรกิจเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งจะประกอบไปด้วยข้อมูลที่ระบุว่าเมื่อใด (“Time”) ที่ไหน (“Height”) และผู้ใด (“Relayed By”) เมื่อ block ถูกบรรจุเข้าไปยังระบบ blockchain
การเข้าใช้ระบบ Blockchain นั้นมีการป้องกันข้อมูลความเป็นส่วนตัวหรือไม่
ทุกคนสามารถเข้าชมเนื้อหาข้อมูลใน blockchain ได้ แต่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องเชื่อมต่อเข้าเครือข่าย blockchain ผ่านทางคอมพิวเตอร์ หากดำเนินการแล้ว คอมพิวเตอร์จะได้รับสำเนาข้อมูล blockchain ซึ่งจะมีการอัพเดตโดยอัตโนมัติเมื่อใดก็ตามที่มี block ใหม่บรรจุเข้ามาในระบุ ตัวอย่างเช่น ข้อมูลหน้าข่าวของ Facebook ซึ่งมีทั้งข้อมูลอัพเดตล่าสุดเมื่อผู้ชายงานตั้งกระทู้หรือดำเนินการโพสต์ครั้งใหม่
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เข้าใช้งานเครือข่าย blockchain แต่ละเครื่องจะมีสำเนา blockchain เป็นของตัวเอง ซึ่งหมายความว่าจะมีสำเนานับพันหรือถ้าหากเป็นเงินสกุลบิทคอยน์ จะมีสำเนานับล้านฉบับในเครือข่าย blockchain เดียวกัน แม้ว่าสำเนาแต่ละฉบับใน blockchain จะมีลักษณะเหมือนกัน แต่การกระจายข้อมูลไปทั่วทั้งเครือข่ายของคอมพิวเตอร์นั้นเป็นการยากที่จะจัดการ ด้วยระบบ blockchain จะไม่มีข้อมูลในลักษณะเชิงเดี่ยวหรือบัญชีตายตัวที่สามารถนำไปจัดการได้ แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีแฮกเกอร์ที่พยายามจะจัดการสำเนาข้อมูลทุกฉบับของ blockchain บนเครือข่าย
หากลองสำรวจข้อมูล blockchain ของเงินสกุลบิทคอยน์ ท่านจะสังเกตได้ว่า ท่านยังไม่ได้ทำการเข้าระบบเพื่อระบุข้อมูลยืนยันตัวตนผู้ใช้งานเพื่อดำเนินธุรกิจ แม้ว่าข้อมูลดำเนินธุรกิจในระบบ blockchain นั้นจะไม่ใช่ข้อมูลนิรนามโดยสมบูรณ์ แต่ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานจะต้องถูกปกปิดเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลลายเซ็นดิจิตอลหรือชื่อผู้ใช้งาน
คำถามสำคัญที่เกิดขึ้น: หากท่านไม่ทราบว่าผู้ใดที่ทำการเพิ่มเติม block เข้าไปยังระบบ blockchain แล้วท่านจะยังให้ความเชื่อถือระบบ blockchain หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำการอัพโหลดได้อย่างไร
ระบบ Blockchain นั้นมีความปลอดภัยหรือไม่
บัญชีเข้าใช้งานระบบ blockchain นั้นมีทั้งความปลอดภัยและความน่าเชื่อถือจากหลากหลายวิธีการ ขั้นแรก block ใหม่ๆจะถูกจัดเก็บเข้าไปในลักษณะเชิงเส้นและตามลำดับเวลา จึงกล่าวได้ว่า block ใหม่จะนำไปบรจุในส่วน “ท้าย (end)” ของ blockchain หากท่านสำรวจข้อมูล blockchain ของเงินสกุลบิทคอยน์ ท่านจะเห็นว่าแต่ละ block จะอยู่ในตำแหน่งที่มีลักษณะเป็นโซ่ ซึ่งเรียกว่า “Height” ตัวอย่างเช่น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019 จำนวน Height ของแต่ละ block อยู่ที่ 562000
เมื่อแต่ละ block ถูกบรรจุเข้าไปยังส่วนท้ายของ blockchain จึงเป็นไปได้ยากมากที่จะกลับไปและเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน block และเนื่องจากแต่ละ block ประกอบไปด้วยรหัสแฮช ซึ่งถูกเข้ารหัสไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยที่รหัสแฮชนั้นถูกสร้างขึ้นตามฟังก์ชั่นคณิตศาสตร์ที่จะเปลี่ยนข้อมูลดิจิตอลให้กลายเป็นข้อมูลตัวเลขและตัวหนังสือที่ร้อยเรียงต่อกัน หากข้อมูลดังกล่าวถูกเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขไม่วาจะทางหนึ่งทางใด รหัสแฮชก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน
และที่กล่าวมาคือเหตุผลที่จำเป็นในด้านความปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น หากมีแฮกเกอร์พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงข้อมูลดำเนินธุรกิจของท่านจาก Amazon ดังนั้นท่านจึงต้องชำระค่าสินค้าของท่านถึงสองครั้ง และทันทีที่แฮกเกอร์เปลี่ยนแปลงวงเงินที่ท่านใช้ในการดำเนินธุรกิจ รหัสแฮชก็จะเปลี่ยนแปลง และ block ถัดไปบนลูกโซ่ก็ยังคงบรรจุไว้ซึ่งรหัสแฮชตัวเดิม และแฮกเกอร์อาจมีความต้องการที่จะอัพเดตข้อมูลใน block นั้นเพื่อที่จะให้ข้อมู,ครอบคลุมกับร่องรอยที่เจาะเอาไว้ อย่างไรก็ตาม การกระทำเช่นนั้นอาจเปลี่ยนแปลงรหัสแฮชของ block นั้นๆและของ block อื่นๆในลำดับถัดไป
เพื่อทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน block แค่หนึ่งเดียว แฮกเกอร์อาจต้องการที่จะเปลี่ยนข้อมูลใน block เดี่ยวทุกๆหน่วยหลังจากที่ถูกนำไปบรรจุเข้ากับลูกโซ่แล้ว และเมื่อทำการคำนวณรหัสแฮชซ้ำอีกครั้ง ประสิทธิภาพในการทำงานหรือคำนวณของคอมพิวเตอร์อาจเพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ไม่น่าเกิดขึ้นได้ อีกนัยหนึ่ง เมื่อใดก็ตามที่ block ถูกบรรจุเข้าระบบ blockchain พวกมันจะถูกเปลี่ยนแปลงได้ยากและเป็นไปไม่ได้เลยที่จะถูกลบออกไป
หากจะกล่าวกันในประเด็นด้านความน่าเชื่อถือ ระบบ blockchain ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ต้องการนำมาใช้งานและเพื่อบรรจุ block ลงไปในลูกโซ่อย่างถูกวิธีการ โดยการทดสอบนี้เราเรียกกันว่า “การทดสอบรูปแบบความสอดคล้องกัน หรือ consensus models” ซึ่งผู้ใช้งานจำเป็นต้อง “พิสูจน์” ตนเองก่อนที่จะสามารถเข้าร่วมกับเครือข่าย blockchain ได้ โดยหนึ่งในตัวอย่างที่เห็นได้ทั่วไปบนระบบแลกเปลี่ยนเงินสกุลบิทคอยน์ ซึ่งถูกเรียกว่า “การพิสูจน์งาน”
ในระบบ การพิสูจน์งาน นั้น เครื่องคอมพิวเตอร์เองจะต้อง “พิสูจน์” ว่าผ่าน “การทำงาน” แล้วด้วยวิธีการแก้ไขโจทย์ปัญหาคำนวณทางคณิตศาสตร์อันซับซ้อน หากเครื่องคอมพิวเตอร์แก้หนึ่งในโจทย์ปัญหาดังกล่าวได้ ตัวเครื่องก็จะมีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะบรรจุ block ลงไปยัง blockchain ได้ แต่กระบวนการบรรจุ block ลงไปยัง blockchain หรือที่วงการแลกเปลี่ยนเงินสกุลดิจิตอลเรียกว่า “การขุดเหมือง” นั้น ไม่ได้ปฏิบัติได้โดยง่าย ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ตามข้อมูลที่ได้จาดเว็บไซต์ประกาศข่าว blockchain อย่าง BlockExplorer กล่าวเอาไว้ว่า เมื่อช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019 โอกาสเป็นไปได้ ที่หนึ่งในโจทย์ปัญหานั้นจะถูกแก้บนเครือข่ายของบิทคอยน์คือ 1 ใน 5.8 ล้านล้าน และเพื่อให้เกิดความเป็นไปได้ที่จะแก้โจทย์คณิตศาสตร์อันซับซ้อนนั้น คอมพิวเตอร์จะต้องเปิดทำงานโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพและพลังงานอย่างมากพอจนเป็นที่น่าพึงพอใจ
ระบบการพิสูจน์งานนั้นมิได้ทำให้แฮกเกอร์ต้องการเจาะข้อมูลที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ และยังกลับทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ หากแฮกเกอร์ต้องการที่เจาะระบบ blockchain พวกเขาจำเป็นต้องแก้โจทย์คำนวณและปัญหาคณิตศาสตร์อันซับซ้อน ซึ่งมีโอกาสอยู่ที่ 1 ใน 5.8 ล้านล้าน เฉกเช่นคนอื่นทั่วไป โดยจำนวนเงินที่ต้องใช้ในการเจาะข้อมูลดังกล่าว อาจมีมูลค่าสูงเกินกว่าที่จะได้กำไร